บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2016

ท้องเสียเฉียบพลัน จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่ ?

ท้องเสียเฉียบพลัน จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่ ? ท้องเสียเฉียบพลัน คืออะไร? ท้องเสียเฉียบพลัน คือภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำอย่างน้อย3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง (หรือถ่ายบ่อยกว่าปกติ) หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากอย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยจะมีอาการดังกล่าวไม่เกิน 14 วัน ท้องเสียเฉียบพลันสามารถแบ่งตามอาการนำเด่นได้ดังนี้

ลดความอ้วนด้วยยาชุด...อันตราย

ลดความอ้วนด้วยยาชุด...อันตราย ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาอย่างมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศไทย โดยโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่อาจเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ดังนั้นโรคอ้วนจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษา ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ยารักษา และการผ่าตัด ในปัจจุบันพบว่าการนำยาลดความอ้วนไปใช้ในทางที่ผิดมีมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากสื่อต่างๆ และการซื้อยาลดความอ้วนสามารถหาซื้อเองได้ง่าย โดยไม่ได้มีการแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรที่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา โดยจากการสำรวจของกองควบคุมวัตถุเสพติด พบว่ายาชุดลดความอ้วนมักจะประกอบไปด้วย ยาหลายชนิดเพื่อช่วยเสริมผลในการลดน้ำหนัก ซึ่งจัดไว้เป็นชุดให้รับประทานเหมือนกันในแต่ละวัน โดยยาชุดลดความอ้วนจะประกอบไปด้วยยาประมาณ 1-7 รายการ ดังต่อไปนี้

เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี

เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี ผู้หญิงส่วนใหญ่คงทราบกันดีว่าปัจจุบันมียาคุมกำเนิดหลากหลายชนิดและรูปแบบ แต่สำหรับบางคนเมื่อตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบใดแบบหนึ่งไปแล้ว อาจรู้สึกว่าไม่สะดวกต่อการใช้หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาคุมกำเนิดชนิดนั้นในภายหลัง จึงต้องการเปลี่ยนเป็นยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ ซึ่งหลายคนตัดสินใจเปลี่ยนยาคุมกำเนิดด้วยตัวเอง โดยเฉพาะยาเม็ดคุมกำเนิดที่ไม่ต้องมีเทคนิคพิเศษในการใช้ยา เพราะเข้าใจว่าคงใช้เหมือนเดิม เช่น หยุด 7 วัน (กรณีในแผงมี 21 เม็ด) หรือ รับประทานจนหมดแผง (กรณีในแผงมี 28 เม็ด) แล้วค่อยเริ่มยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ แต่จริงๆ แล้ว ยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละยี่ห้ออาจมีชนิดและปริมาณของฮอร์โมนแตกต่างกัน ซึ่งการเว้นช่วง (gap) ดังที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้น อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลงระหว่างการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนยาคุมกำเนิดจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง  เช่น จากยาเม็ดเป็นยาฉีด เป็นต้น ก็ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนยาเช่นกัน

ยาดมมีอันตรายหรือไม่

ยาดมมีอันตรายหรือไม่ ในปัจจุบันยาดม ซึ่งใช้บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก หน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ กำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุอานามเลยวัยกลางคนขึ้นไป อย่างไรก็ตามยาดมสมัยใหม่มีการปรับปรุงเพื่อให้มีความทันสมัยเป็นที่เตะตาของกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น จึงได้รับการออกแบบให้มีความทันสมัย ขนาดกะทัดรัดเหมาะมือ ผลิตภัณฑ์รูปแบบนี้สร้างสรรค์เพื่อคนยุคใหม่ วัยทำงาน เนื่องจากคนยุคใหม่มักมีกิจกรรมและการผ่อนคลายหลังการทำงานในเวลาที่ค่อนข้างจำกัด จึงมักผ่อนคลายด้วยกลิ่นบำบัด (Aromatic) ยาดมจึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่นำเสนอ นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการอดบุหรี่ก็นิยมที่จะหันมาใช้ยาดมทดแทนการสูบบุหรี่ ทำให้เกิดคำถามว่า ยาดมมีอันตรายหรือไม่

ยาแก้วิงเวียน ระวัง! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ

ยาแก้วิงเวียน ระวัง! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ อาการวิงเวียนศีรษะเป็นความเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งสาเหตุของการเกิดอาการวิงเวียนศีรษะมีมากมายหลากหลายสาเหตุ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยบางรายมีอาการดังกล่าวบ่อยๆ และมักไปซื้อยารับประทานเอง และเมื่อใช้บ่อยจนรู้จักยาแล้ว ก็เรียกหาและใช้ยาเหล่านั้นเป็นประจำ หรือในบางกรณี ไปพบแพทย์แล้วได้รับยาแก้วิงเวียนศีรษะ ซึ่งเมื่อรับประทานแล้วได้ผลดีก็จะนำตัวอย่างยาไปซื้อรับประทานต่อเองเป็นระยะเวลานาน

เภสัชกรแขวนป้าย ผลกระทบเป็นอย่างไร

เภสัชกรแขวนป้าย ผลกระทบเป็นอย่างไร คำว่า “ป้าย” ที่เภสัชกรไม่แขวนมันคืออะไร แน่นอนมันไม่ใช่ป้ายบอกทาง ไม่ใช่ป้ายบอกราคาสินค้า แต่มันคือเอกสารของทางราชการที่เรียกกันมาแต่เดิมว่าใบประกอบโรคศิลปะ ปัจจุบันเรียกว่าใบประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางเภสัชศาสตร์ เป็นผู้มีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพนี้

การเก็บยาในตู้เย็นควรเก็บบริเวณไหนดี ?

การเก็บยาในตู้เย็นควรเก็บบริเวณไหนดี ? คุณเคยได้รับยาจากโรงพยาบาลแล้วฉลากยานั้นระบุให้เก็บยาในตู้เย็นหรือไม่ หลายคนอาจเก็บยาไว้ช่องธรรมดาที่ส่วนประตูสำหรับไว้เก็บไข่เพราะสะดวกหยิบใช้ง่าย บางคนอาจเก็บไว้ในช่องสำหรับไว้เก็บผักผลไม้เพื่อจะได้แยกเป็นสัดส่วน แล้วเราควรเก็บบริเวณไหนของตู้เย็นดี?

อ่านฉลากยาดีๆ มีประโยชน์

อ่านฉลากยาดีๆ มีประโยชน์ การใช้ยาถึงแม้จะเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่คนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ยาอย่างผิดวิธี ทำให้ส่งผลเสียต่อการรักษาและรวมไปถึงสุขภาพของผู้ใช้ยา บางครั้งผู้ใช้ยาอาจลืมวิธีการใช้ยาแต่ก็ละเลยที่จะอ่านฉลากยา ซึ่งจริงๆ แล้วการอ่านฉลากเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งและมีประโยชน์เป็นอย่างมาก

ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ??

ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? อาการไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ การไอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ในบางครั้งโรคหรือยาบางอย่างกลับมีผลทำให้เกิดอาการไอมากเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจเพียงทำให้เกิดความรำคาญหากไอไม่รุนแรงและหายได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไออย่างรุนแรงและยาวนานอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของระบบทาง เดินหายใจ และอาจส่งผลถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ต้องใช้ในการไอด้วย ซึ่งวิธีการรักษาอาการไอที่ดีที่สุดคือ การกำจัดที่สาเหตุของอาการไอ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นต้น

ทรานซามิน (transamin) กับผิวขาว ...จริงหรือไม่?

ทรานซามิน (transamin) กับผิวขาว ...จริงหรือไม่? ปัจจุบันหลายท่านอาจจะเคยได้ยินการใช้ยา ทรานซามินในการช่วยให้ผิวขาว ซึ่งอาจจะได้ข้อมูลจากInternet,web broad ต่างๆที่ให้ความรู้ที่คลุมเคลือ หรือ บอกไม่หมด เกี่ยวกับยา Transamin วันนี้เรามารู้จักยา Transamin จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา มนทกานติกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กันดีกว่าครับ

มารู้จักโรคเกิร์ด (GERD) - โรคกรดไหลย้อน กันดีกว่าครับ

เกิร์ด (GERD) - โรคกรดไหลย้อน ปัจจุบันนี้ที่แผนกอายุรศาสตร์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ มีผู้ป่วยเป็น “เกิร์ด”(GERD) หรือ โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease)จำนวนมาก ซึ่งหลายคนยังมีความสงสัยและไม่เข้าใจว่า โรคกรดไหลย้อนนั้น หมายถึงอะไร เกิดได้อย่างไร มีอันตรายต่อร่างกายมากน้อยเพียงใด และการดูแลรักษารวมทั้งการปฏิบัติตนควรทำอย่างไร บทความนี้เขียนเพื่อตอบคำถามต่าง ๆดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านรักษาตนให้หลุดพ้นความทุกข์ทรมานจากโรคกรดไหลย้อน

ทำไมถึงอย่ากินยาผสมน้ำอัดลม!!!!!

รูปภาพ

โรคที่พบบ่อยในฤดูหนาว ของผู้สูงอายุ

ฤดูหนาวถึงแม้จะเป็นฤดูที่หลาย ๆ คนชอบแต่ก็เป็นฤดูที่อาจนำความเจ็บป่วยบางอย่างมาให้กับคนเราหลายอย่างโดยเฉพาะ ถ้าเราดูแลสุขภาพไม่ดี ถึงแม้ประเทศไทยอากาศจะไม่หนาวเท่ากับหลาย ๆ ประเทศ แต่อุณหภูมิในฤดูหนาวบางปีและ ในบางพื้นที่ก็สามารถทำให้เราเจ็บป่วยได้ ตัวอย่างโรคที่มาพร้อมฤดูหนาว ได้แก่