วิธีการล้างจมูกที่ถูกต้อง
วิธีการล้างจมูกที่ถูกต้อง
1. ล้างมือ ไซรินจ์ และจุกล้างจมูก
ล้างมือ ไซรินจ์ (Syringe ขนาด 5-50 mL) และจุกล้างจมูก "คลีน แอนด์ แคร์" ให้สะอาด
2. เทน้ำเกลือ
เทน้ำเกลือ หรือดูดน้ำเกลือเข้าไซรินจ์
3. สวมจุกล้างจมูกที่ปลายไซรินจ์
สวมจุกล้างจมูก "คลีน แอนด์ แคร์" ที่ปลายไซรินจ์ เพื่อช่วยให้ล้างจมูกสะดวกขึ้น
4. กลั้นหายใจ-ก้มหน้า-อ้าปาก
โน้มตัวเหนืออ่างล้างหน้า ดันจุกล้างจมูก ให้แนบสนิทกับรูจมูกข้างหนึ่ง แล้ว "กลั้นหายใจ-ก้มหน้า-อ้าปาก" ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือเข้ารูจมูก น้ำเกลือจะไหลเข้าไปในโพรงจมูก และไหลออกทางรูจมูกอีกด้านหนึ่ง
5. สั่งน้ำมูกและซ้ำอีก
สั้งน้ำมูกที่ค้างอยู่ออกเบาๆ อาจมีน้ำเกลือบางส่วนไหลออกมาทางปาก ก็ให้บ้วนทิ้งไป แล้วล้างจมูกอีกข้างหนึ่ง ตามขั้นตอนที่ 2-4 เมื่อล้างเสร็จ จะสังเกตได้ว่าหายใจสะดวกขึ้น
ข้อควรระวังในการล้างจมูก
1. ควรใช้น้ำเกลือ "ปราศจากเชื้อ"
การล้างจมูก ควรใช้น้ำเกลือ Sodium Chloride 0.9% w/v ชนิดปราศจากเชื้อ เพื่อความปลอดภัยในการล้างจมูก ป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน และไม่ระคายเคืองโพรงจมูก
2. ห้ามใช้ "น้ำเปล่า" ล้างโพรงจมูก
เนื่องจากน้ำเปล่า ไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการสำลักน้ำ และโพรงจมูกรู้สึกแสบ
3. ไม่ควรฉีดน้ำเกลือแรง
การฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกแรงๆ อาจทำให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบได้
4. สั่งน้ำมูกเบาๆ
หลังการล้างจมูก ควรสั่งน้ำมูกและเช็ดจมูกเบาๆ การสั่งน้ำมูกแรงๆ นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อโพรงจมูกแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูอักเสบได้ ขณะสั่งน้ำมูกไม่ควรอุดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ควรสั่งพร้อมๆกันทั้ง 2 ข้าง
5. การใช้ยาพ่นจมูก
หากต้องใช้ยาพ่นหลังล้างจมูก ควรรอให้โพรงจมูกแห้งก่อน อย่างน้อย 3-5 นาที จึงพ่นยา
6. ผู้ที่รูจมูกอุดตัน
ผู้ที่มีรูจมูกด้านใดด้านหนึ่งอุดตันตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการล้างจมูก
7. การล้างจมูกในเด็ก
การล้างจมูกในเด็ก สามารถทำได้อย่างปลอดภัย โดยควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำเกลือ สำหรับเด็กเล็ก (เด็กที่สั่งน้ำมูก หรือกลั้นหายใจไม่เป็น) จะไม่สามารถล้างโพรงจมูกได้ หากมีน้ำมูกให้ใช้วิธีหยดน้ำเกลือที่รูจมูก ข้างละ 2 หยด เพื่อช่วยให้น้ำมูกมีคลามข้นเหนียวลดลง แล้วใช้ลูกยางแดง ดูดทั้งน้ำมูกและน้ำเกลือออกทันที
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น