มารู้จักยา Ibuprofen กันดีกว่า


ส่วนประกอบสำคัญของยา (Active Ingredients)

Ibuprofen BP : 100 mg รูปแบบน้ำ
                         200 mg และ 400 mg รูปแบบเม็ด



กลไกการออกฤทธิ์

บรูเฟน เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory agent)
มีคุณสมบัติบรรเทาปวด ลดการอักเสบและลดไข้

ข้อบ่งใช้การใช้ยา

ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดไข้ บรรเทาอาการปวดบาดแผล ปวดประจำเดือน ปวดฟัน หลังการผ่าตัดรากฟัน ปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว ลดอาการไข้ เนื่องจากหวัดและไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการอักเสบในโรคข้ออักเสบ บริเวณข้ออักเสบ, กล้ามเนื้ออักเสบ, เอ็นอักเสบ และข้อสันหลังอักเสบยึดติด, อาการเคล็ดและบาดเจ็บ เนื่องจากการเล่นกีฬา 

ขนาดการใช้ยา

ควรรับประทานหลังอาหาร
ชนิดเม็ดสำหรับผู้ใหญ่
ปวดประจำเดือน, ปวดฟันและหลังการผ่าตัดรากฟัน ขนาดที่ใช้ ครั้งละ 400 มก. วันละ 3-4 ครั้ง
ปวดศีรษะ, ปวดศีรษะข้างเดียว ขนาดที่ใช้ ครั้งละ 400 มก. ทุก 4 ชม.
เมื่อมีอาการปวด, อาการไข้ ขนาดของยามากที่สุดไม่เกิน 1200 มก./วัน
อาการเคล็ดและบาดเจ็บเนื่องจากการเล่นกีฬา ครั้งแรกใช้ขนาด 800 มก. 
ต่อไปให้ใช้ขนาด 800-1200 มก./วัน
อาการอักเสบอันเนื่องจากโรคข้อต่างๆ, กล้ามเนื้ออักเสบ, เอ็นอักเสบ ขนาดที่ใช้ 1200-1600 มก./วัน ตามความรุนแรงของโรค

ขนาดยาในเด็ก
ลดไข้ 10mg/kg/ครั้ง  ให้ทุก 6-8 ชม.(สูงสุดไม่เกิน 40mg/kg/วัน)
แก้ปวด 4-10mg/kg/ครั้ง ให้ทุก 6-8 ชม.

การใช้ยาในผู้ป่วยตั้งครรภ์ (เป็น Category C/D)
ยานี้ไม่ทำให้เกิดความพิการต่อตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาใน อย่างไรก็ตามสตรีมีครรภ์ที่ได้รับยานี้เป็นประจำในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจทำให้ตัวอ่อนในครรภ์หรือทารกที่คลอดออกมามีความผิดปกติของหัวใจหรือระบบการไหลเวียนโลหิต การใช้ยานี้ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์มีผลยืดอายุครรภ์ ทำให้การคลอดยืดออกไปหรือทำให้เกิดปัญหาในระหว่างคลอดได้ “ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ยกเว้นในกรณีที่แพทย์สั่งจ่าย การใช้ยานี้ในช่วงอื่นของการตั้งครรภ์ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น สตรีมีครรภ์ที่จำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาปวด ลดไข้ แนะนำให้เลือกใช้พาราเซตามอล(อาเซตามิโนเฟน)เป็นอันดับแรก” 

การใช้ยาในสตรีให้นมบุตร 
ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร

ยาที่ควรระมัดระวังเมี่อใช้ร่วมกับยาตัวนี้ 
ในยาที่มีปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา(การใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันแล้วก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์) บางกรณียา 2 ชนิดนั้นก็ไม่ควรใช้ร่วมกันเลย แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยา 2 ชนิดนั้นร่วมกัน ถึงแม้ว่าจะมีปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาเกิดขึ้นได้ซึ่งในกรณีนี้แพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยา ดังนั้นเมื่อท่านต้องใช้ยาไอบูโพรเฟน สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือท่านควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่าท่านใช้ยาดังต่อไปนี้อยู่ 
       -ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม aminoglycosides เช่น gentamicin, amikacin, streptomycin 
       -ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin, dicumarol 
       -ยาต้านการชัก lithium 
       -ยาต้านมะเร็ง methotrexate 
       -ยาลดกรดยูริก probenecid 
       -ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม beta-blockers เช่น propanolol, atenolol, pindolol, metoprolol, 
         bisoprolol 

คำเตือนและข้อควรระวัง
-ไม่ควรซื้อยานี้รักษาตนเองเป็นเวลานานเกินกว่า 1 สัปดาห์ หากต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร 
-ผู้ที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่ผสมอัลกอฮอล์มากเมื่อใช้ยานี้อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
-ผู้ที่มีประวัติแพ้ aspirin หรือ ยากลุ่ม NSAIDs ไม่ควรใช้ยานี้เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ยาที่รุนแรง เช่นการหายใจผิดปกติมีเสียงหวีด เป็นลม ผิวหน้าเปลี่ยนสี ผิวหนังมีตุ่ม บวม ตาบวม หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้ควรให้ผู้อื่นนำส่งโรงพยาบาล ไม่ควรขับรถมาเอง และควรทำร่างกายให้อบอุ่น ยกเท้าให้สูงกว่าศีรษะ 
-ในระหว่างใช้ยานี้หากเกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่(เช่น มีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ)
ร่วมกับการเกิดผื่น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 
-การใช้ยานี้มักก่อให้เกิดแผลในทางเดินอาหาร อาจทำให้อุจจาระมีสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด 
เนื่องจากภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ในกรณีนี้ท่านควรหยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ 
-ถ้าหากท่านกำลังจะได้รับการผ่าตัด(รวมทั้งการผ่าตัดในช่องปาก) ควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าท่านกำลังใช้ยานี้อยู่ เพราะยาอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า 
-ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการสับสน เวียนศีรษะ เป็นลม หรือ เฉื่อยชา และอาจทำให้การมองเห็นพร่าเลือนหรือผิดปกติ ดังนั้นขณะที่ท่านใช้ยาตัวนี้อยู่ ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้เครื่องจักรกล หรือกระทำการต่างๆซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ 
-การใช้ยารักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ใหญ่ไม่ควรใช้ยาเกิน 10 วัน ในเด็กไม่ควรใช้เกิน 3 วัน นอกจากตามแพทย์สั่ง 
-การใช้ยารักษาตนเองเพื่อลดไข้ในผู้ใหญ่ไม่ควรใช้เกิน 3 วัน นอกจากตามแพทย์สั่ง 
-การใช้ยารักษาตนเองเพื่อบรรเทาลดไข้ในเด็กไม่ควรใช้เกิน 3 วัน นอกจากตามแพทย์สั่ง และหากใช้ยาแล้วไข้ไม่ลดลงหรือมีไข้สูงขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงควรปรึกษาแพทย์ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรรู้จัก "ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ" 4

ยาล้างไต ล้างทำไม ล้างได้จริงหรือ ต้องอ่านครับ