ลูกไม่สูง ต้องทำอย่างไร

ลูกไม่สูง ต้องทำอย่างไร

จากบทความ ที่ผ่านมา คุณพ่อ คุณแม่ ก็คงพอจะทราบกันดีแล้วว่า ทำไม ลูกจึงไม่สูง และเมื่อรู้สาเหตุแล้วว่าทำไม

ลูกรักของท่านโตไม่ทันเพื่อน คุณพ่อ คุณแม่ ก็ควรจะทราบต่อไปว่าเมื่อ ลูกไม่สูง ต้องทำอย่างไร นะครับ



คุณพ่อ คุณแม่ ที่ติดตามดูพัฒนาการของลูกรัก หากพบว่าลูกน้อยนั้น เมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกันเหมือนจะโตช้ามาก

สูงเพิ่มขึ้นไม่ถึง3- 4 ซม. ต่อปี เพื่อนรุ่นเดียวบางคนที่เคยเตี้ยกว่าหรือเคยสูงพอๆ กันแต่ ตอนนี้กลับสูงกว่า หรือเจ้าตัวเล็ก

ตัวเล็กมากทั้งที่พ่อ แม่ ก็ตัวสูง คุณพ่อ

คุณแม่ทราบดีอยู่แล้วว่าการที่เด็กจะมีการเจริญเติบโตที่ดีนั้นต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น

มีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสม มีสุขภาพทางจิตใจและอารมณ์ ดี มีปริมาณฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตปกติ

ไม่มีโรคเรื้อรังทางกายอื่นๆ มีการออกกำลังกายและ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ

และประการสุดท้ายไม่มีความผิดปกติที่จะส่งผลทำให้มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ของกระดูก เช่น

ยาหรือสารเคมีจากภายนอก หรือโดยเฉพาะบางรายที่อาจมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย เพราะโดนเพื่อนแกล้ง มีผลการเรียนแย่ลง

หากเป็นเช่นนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์

ข้อมูลที่ควรนำไปด้วยเมื่อพบแพทย์ คือส่วนสูงที่เคยวัดไว้ในสมุดพกนักเรียน ผู้ที่นำเด็กไปพบแพทย์ควรเป็น คุณพ่อ

คุณแม่หรือคนใดคนหนึ่ง เพราะแพทย์จะซักรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนสูง ของพ่อ แม่ ประวัติการเจ็บป่วยของเด็กด้วย

หากแพทย์พบว่าเด็กเตี้ยหรือเติบโตช้าจริง

แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุทางกายอื่นๆที่ชัดเจนออกไป หากพบว่ามี

ข้อบ่งชี้หรือสงสัยว่าจะมีความผิดปกติทางฮอร์โมน แพทย์

จะนัดตรวจทางห้องปฎิบัติการต่อมไร้ท่ออีกครั้งหนึ่ง โดยทำการตรวจวัดระดับของ

ฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตหลังคลอด  ได้แก่ อินซูลิน , ฮอร์โมน เจริญเติบโต (Growth Hormone) ,

ธัยรอยด์ฮอร์โมน และฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนที่พบบ่อยว่าขาดและทำให้การเจริญเติบโตช้า ได้แก่ ฮอร์โมนเจริญเติบโต (

Growth Hormone ) และธัยรอยด์ฮอร์โมน เด็กตัวเตี้ยที่มีสาเหตุจากขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต(Growth Hormone )

และธัยรอยด์ฮอร์โมนสามารถรักษาได้ผลดีหากตรวจพบ และ รักษาแต่เนิ่นๆ

การตรวจความผิดปกติที่เกิดจากการขาดธัยรอยด์ฮอร์โมน ทำได้ง่ายๆ

เพียงเจาะเลือดตรวจหาระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนเพียงครั้งเดียว หากพบว่าขาดจริงการรักษาทำโดย

การให้ฮอร์โทนทดแทนทางปาก

 การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเติบโต ( Growth Hormone Deficiency)

 การตรวจหาระดับฮอร์โมนเติบโตแตกต่างไปจากการเจาะเลือดโดยทั่วๆไป จำเป็นต้องให้ยากินหรือฉีดยา

เพื่อกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเติบโตก่อน ดังนั้นคนไข้ต้องงดอาหารก่อนวันทดสอบ ระหว่างการทดสอบคนไข้

จะอยู่ภายใต้การดูแลของพยาบาล และแพทย์โดยใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าผลการทดสอบสามารถแปลผลได้ แม่นยำ

คนไข้บางรายอาจต้องทำการทดสอบ 2 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าคนไข้ขาดฮอร์โมนนี้จริงๆ

การรักษาคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโต ทำโดยการฉีดฮอร์โมนเติบโต (Growth Hormone )

เข้าใต้ผิวหนัง คนไข้ที่จะตอบสนองดีต่อการให้การรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเติบโต คือคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโตจริงๆ

หากขาดมากจะตอบสนองดีกว่ารายที่ขาดไม่มาก ดังนั้นก่อนให้ฮอร์โมนเติบโตจึงจำเป็นต้องทำการทดสอบ ทุกราย

 ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษา การรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนเติบโต ( Growth Hormone )

จะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับอายุที่เริ่มให้การรักษา ความรุนแรงของการ ขาดฮอร์โมน ขนาดของฮอร์โมนที่ให้ วิธีการให้

และระยะเวลาที่ได้รับการรักษา การรักษาจะได้ผลดีหากให้

การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม โดยสรุปเด็กที่มีปัญหาเติบโตช้าหรือตัวเตี้ย

ควรนำเด็กไปพบแพทย์ก่อนที่เด็กจะมีลักษณะเข้าวัยหนุ่มสาว

นำส่วนสูงของที่วัดไว้ก่อนหน้านี้ในสมุดวัคซีนและสมุดพกนักเรียนไปด้วย หากไม่มีสมุดวัคซีนหรือสมุดพก

สามารถขอบันทึกการวัดได้จากสถานพยาบาลหรือโรงเรียนโดยตรง ส่วนสูงของบิดาและมารดา อายุที่เริ่ม

เข้าวัยหนุ่มในบิดา(ถ้าหากจำได้) และอายุที่เริ่มมีประจำเดือนในมารดา บิดาและ/หรือมารดาควรไปกับเด็ก

ด้วยเพื่อให้ประวัติเด็กกับแพทย์ผู้ดูแล เพื่อฟังคำแนะนำและแนวทางในการตรวจรักษา นอกจากนี้เด็กบาง

รายอาจต้องการความช่วยเหลือดูแลจากแพทย์ทางจิตเวชเด็กอีกด้วย

จากสาเหตุและวิธีปฏิบัติดังกล่าว เมื่อลูกรักของคุณ สูงไม่ทันเพื่อน

แนะนำให้รีบพาลูกรักมาปรึกษาคุณหมอ เพื่อ ตรวจ หาสาเหตุที่แท้จริง และ

ทำการรักษาเพื่อให้ลูกรักของคุณเติบโต สมวัย เป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงสมบูรณ์

ตามความฝันที่คุณพ่อคุณแม่วาดไว้ โดย สามารถ

พาลูกรักเข้ารับการปรึกษาและตรวจหาสาเหตุได้ที่ กุมารแพทย์ แผนกต่อมไร้ท่อ

ที่โรงพยาบาลรัฐ หรือ เอกชน ชั้นนำ ใกล้บ้านท่าน หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

kids and Tall web pageได้อีกด้วยนะครับ



ภก วิรัตน์ โชติปฏิเวชกุล



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรรู้จัก "ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ" 4

ยาล้างไต ล้างทำไม ล้างได้จริงหรือ ต้องอ่านครับ