วิธีการตรวจภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ( Growth Hormone Deficiency )
วิธีการตรวจภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ( Growth Hormone Deficiency )
คุณพ่อ คุณแม่ ที่พบว่าลูกรักตัวไม่สูง โดยน่าจะเกิดจากภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต (Growth Hormone)
อาจจะเริ่มสงสัย ว่า จะเริ่มต้นยังไงดี วิธีการตรวจ จะยุ่งยากไหม วันนี้ ผมมีขั้นตอนง่ายๆ
ของการตรวจภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต
( Growth Hormone) มาฝากครับ
เริ่มจาก เมื่อคุณหมอสันนิษฐานว่า ลูกน้อยน่าจะไม่สูง อันเกิดจากการขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ( Growth Hormone )
คุณหมอกุมารเวชด้านต่อมไร้ท่อ ก็จะมีขั้นตอนการตรวจ ประเมิน ดังนี้ครับ
1. x-ray อายุกระดูก โดยการ x-ray บริเวณมือ ซึ่งจากภาพที่ได้
คุณหมอจะนำมาเทียบอายุกระดูกว่าโตเท่ากับอายุจริงหรือไม่
2. เมื่อตรวจอายุกระดูกและมีอาการผิดปกติแล้วคุณหมอก็จะให้ตรวจเลือด เพื่อเช็คว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้เติบโตผิดปกติเช่น
ไทรอยด์ หรือการทำงานของ ตับ ไต ต่าง ๆ การตรวจครั้งนี้รอผลเลือดประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อหมอนัดฟังผล
หากผลออกมาพบว่าร่างกายปกติดีทุกประการ ก็จะมีแนวโน้มที่จะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone )
คุณหมอก็จะนัดตรวจฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone ) ในครั้งต่อไป
3. การตรวจ ฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone ) คุณหมอจะให้งดน้ำและอาหารตั้งแต่เที่ยงคืน
แล้วมาทำการตรวจตั้งแต่เช้า ขั้นแรกต้อง ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อน
เพราะคุณหมอต้องการให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อการกระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโตให้หลั่งออกมามากที่สุด
ถ้าผลตรวจระดับน้ำตาลไม่ต่ำ คุณหมอจะมียาให้ทานเพื่อให้ระดับน้ำตาลต่ำลง จากนั้นก็ไปสู่ขั้นต่อไป
คือการกินยาเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone ) ให้หลั่งออกมา
4. ขั้นตอนการกินยากระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone )
หลังจากกินยาแล้วคุณหมอจะเจาะเลือดไปตรวจครั้งแรก จากนั้นต้องรอ อีก 30 นาที ในการเจาะเลือดครั้งต่อไป
และต้องเจาะทั้งหมด 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 30 นาที แล้วคุณหมอก็จะนัดมาฟังผล
การตรวจวัดระดับฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone )อีก 3 สัปดาห์ต่อไป
5. หลังจากการตรวจครั้งที่ 1 ผ่านไป แล้วพบว่ามีการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติ
ก็จะต้องมีการตรวจระดับฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ครั้งที่สอง
การตรวจครั้งนี้จะตรวจคล้ายกับครั้งแรกเพียงแต่จะไม่มียากิน แต่จะมี ยาฉีด คือ
ฉีดอินซูลินเข้าไปเพื่อลดระดับน้ำตาล ระดับน้ำตาลที่คุณหมอต้องการอยู่ที่ ต่ำกว่า 40 จากนั้นก็เจาะเลือด อีก 4 ครั้ง
ห่างกันครั้งละ 30 นาที เหมือนเดิม (โดยต้องงดน้ำ อาหารด้วยทุกครั้งในการตรวจฮอร์โมนการเจริญเติบโต )
6.หากพบว่าขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone ) จริง ๆ ขั้นต่อไปก็เป็นขั้นของตรวจหาสาเหตุ
ว่าทำไมจึงไม่มีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมา
จุดสำคัญที่คุณหมอต้องการทราบว่ามีอะไรไปขัดขวางการทำงานของต่อมใต้สมองหรือเปล่า หรือ
ต่อมใต้สมองฝ่อและหยุดการทำงานไปเอง ขั้นตอนนี้ก็ต้องส่งตรวจคลื่นสมองโดยการทำ MRI ต่อไป
7. หากผลการตรวจสมองผ่านไปด้วยดี คุณหมอก็จะให้การรักษาด้วยฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone
) ซึ่งขั้นตอนต่างๆ หลังจากผ่านการตรวจทั้งสิ้นอาจเป็นระยะเวลานานถึง 8 เดือน
เพื่อให้การรักษาเป็นไปตามมาตราฐานและปลอดภัยต่อลูกรักที่สุด ดังนั้น คุณพ่อ คุณแม่
คงต้องเตรียมเวลาสำหรับช่วงนี้ไว้ด้วยนะครับ
เมื่อลูกรักของคุณ ได้รับการรักษา และดูแล เป็นอย่างดี ก็จะสามารถสูงได้ทันเพื่อน
แต่ความสูงสุดท้ายก็จะเป็นตามศักยภาพของกรรมพันธ์ ตามที่ได้เคยเขียนไว้ ในบทความก่อนๆ
หากมีคำถามจากเหตุปัจจัยการขาดฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโต ( Growth Hormone) เพื่อ ทำการรักษา สามารถ
พาลูกรักเข้ารับการปรึกษาและตรวจหาสาเหตุได้ที่ กุมารแพทย์ แผนกต่อมไร้ท่อ ที่โรงพยาบาลรัฐ หรือ เอกชน ชั้นนำ
ใกล้บ้านท่าน หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ kids and Tall web pageได้นะครับ
ภก วิรัตน์ โชติปฏิเวชกุล
คุณพ่อ คุณแม่ ที่พบว่าลูกรักตัวไม่สูง โดยน่าจะเกิดจากภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต (Growth Hormone)
อาจจะเริ่มสงสัย ว่า จะเริ่มต้นยังไงดี วิธีการตรวจ จะยุ่งยากไหม วันนี้ ผมมีขั้นตอนง่ายๆ
ของการตรวจภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต
( Growth Hormone) มาฝากครับ
เริ่มจาก เมื่อคุณหมอสันนิษฐานว่า ลูกน้อยน่าจะไม่สูง อันเกิดจากการขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ( Growth Hormone )
คุณหมอกุมารเวชด้านต่อมไร้ท่อ ก็จะมีขั้นตอนการตรวจ ประเมิน ดังนี้ครับ
1. x-ray อายุกระดูก โดยการ x-ray บริเวณมือ ซึ่งจากภาพที่ได้
คุณหมอจะนำมาเทียบอายุกระดูกว่าโตเท่ากับอายุจริงหรือไม่
2. เมื่อตรวจอายุกระดูกและมีอาการผิดปกติแล้วคุณหมอก็จะให้ตรวจเลือด เพื่อเช็คว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้เติบโตผิดปกติเช่น
ไทรอยด์ หรือการทำงานของ ตับ ไต ต่าง ๆ การตรวจครั้งนี้รอผลเลือดประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อหมอนัดฟังผล
หากผลออกมาพบว่าร่างกายปกติดีทุกประการ ก็จะมีแนวโน้มที่จะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone )
คุณหมอก็จะนัดตรวจฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone ) ในครั้งต่อไป
3. การตรวจ ฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone ) คุณหมอจะให้งดน้ำและอาหารตั้งแต่เที่ยงคืน
แล้วมาทำการตรวจตั้งแต่เช้า ขั้นแรกต้อง ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อน
เพราะคุณหมอต้องการให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อการกระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโตให้หลั่งออกมามากที่สุด
ถ้าผลตรวจระดับน้ำตาลไม่ต่ำ คุณหมอจะมียาให้ทานเพื่อให้ระดับน้ำตาลต่ำลง จากนั้นก็ไปสู่ขั้นต่อไป
คือการกินยาเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone ) ให้หลั่งออกมา
4. ขั้นตอนการกินยากระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone )
หลังจากกินยาแล้วคุณหมอจะเจาะเลือดไปตรวจครั้งแรก จากนั้นต้องรอ อีก 30 นาที ในการเจาะเลือดครั้งต่อไป
และต้องเจาะทั้งหมด 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 30 นาที แล้วคุณหมอก็จะนัดมาฟังผล
การตรวจวัดระดับฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth Hormone )อีก 3 สัปดาห์ต่อไป
5. หลังจากการตรวจครั้งที่ 1 ผ่านไป แล้วพบว่ามีการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติ
ก็จะต้องมีการตรวจระดับฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ครั้งที่สอง
การตรวจครั้งนี้จะตรวจคล้ายกับครั้งแรกเพียงแต่จะไม่มียากิน แต่จะมี ยาฉีด คือ
ฉีดอินซูลินเข้าไปเพื่อลดระดับน้ำตาล ระดับน้ำตาลที่คุณหมอต้องการอยู่ที่ ต่ำกว่า 40 จากนั้นก็เจาะเลือด อีก 4 ครั้ง
ห่างกันครั้งละ 30 นาที เหมือนเดิม (โดยต้องงดน้ำ อาหารด้วยทุกครั้งในการตรวจฮอร์โมนการเจริญเติบโต )
6.หากพบว่าขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone ) จริง ๆ ขั้นต่อไปก็เป็นขั้นของตรวจหาสาเหตุ
ว่าทำไมจึงไม่มีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมา
จุดสำคัญที่คุณหมอต้องการทราบว่ามีอะไรไปขัดขวางการทำงานของต่อมใต้สมองหรือเปล่า หรือ
ต่อมใต้สมองฝ่อและหยุดการทำงานไปเอง ขั้นตอนนี้ก็ต้องส่งตรวจคลื่นสมองโดยการทำ MRI ต่อไป
7. หากผลการตรวจสมองผ่านไปด้วยดี คุณหมอก็จะให้การรักษาด้วยฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone
) ซึ่งขั้นตอนต่างๆ หลังจากผ่านการตรวจทั้งสิ้นอาจเป็นระยะเวลานานถึง 8 เดือน
เพื่อให้การรักษาเป็นไปตามมาตราฐานและปลอดภัยต่อลูกรักที่สุด ดังนั้น คุณพ่อ คุณแม่
คงต้องเตรียมเวลาสำหรับช่วงนี้ไว้ด้วยนะครับ
เมื่อลูกรักของคุณ ได้รับการรักษา และดูแล เป็นอย่างดี ก็จะสามารถสูงได้ทันเพื่อน
แต่ความสูงสุดท้ายก็จะเป็นตามศักยภาพของกรรมพันธ์ ตามที่ได้เคยเขียนไว้ ในบทความก่อนๆ
หากมีคำถามจากเหตุปัจจัยการขาดฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโต ( Growth Hormone) เพื่อ ทำการรักษา สามารถ
พาลูกรักเข้ารับการปรึกษาและตรวจหาสาเหตุได้ที่ กุมารแพทย์ แผนกต่อมไร้ท่อ ที่โรงพยาบาลรัฐ หรือ เอกชน ชั้นนำ
ใกล้บ้านท่าน หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ kids and Tall web pageได้นะครับ
ภก วิรัตน์ โชติปฏิเวชกุล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น