รู้จักโกรทฮอร์โมน

รู้จักโกรทฮอร์โมน

เด็กที่มีความเจริญเติบโตปกติตามวัย

จะมีน้ำหนักส่วนสูงของร่างกายเป็นไปตามเกณฑ์ หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกตัวเตี้ยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

แถมไม่มีทีท่าว่าจะสูงขึ้น ก็อย่าได้ชะล่าใจ




เพราะลูกของท่านอาจจะเป็นโรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตก็เป็นได้หรือ ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน

โกรท ฮอร์โมน (Growth Hormone) หรือ ฮอร์โมน เจริญเติบโต  จะถูกผลิตและสร้างออกมาจากต่อมใต้สมอง

ซึ่งอยู่บริเวณกลางของศีรษะ ต่อมใต้สมองขนาดเล็กนิดเดียวแต่สร้างฮอร์โมนออกมาหลายชนิด

หนึ่งในนั้นก็คือฮอร์โมนเจริญเติบโต ในเด็กที่มีปัญหาขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ก็ หมายความว่า

อาจจะมีความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ซึ่งความผิดปกติหลัก ๆ มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1.ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น ต่อมใต้สมองอาจจะมีขนาดเล็ก มีรูปร่างผิดปกติไป

หรือว่าอาจมีพันธุกรรมบางอย่างทำให้การสร้างฮอร์โมนผิดปกติ

2.ความผิดปกติเกิดขึ้นมาภายหลัง เช่น อาจจะมีก้อนเนื้อไปกดต่อมบริเวณนี้ เด็กอาจจะได้รับอุบัติเหตุ

มีการบาดเจ็บในศีรษะชนิดรุนแรง มีการผ่าตัด

หรือมีการเอกซเรย์ในศีรษะเพื่อรักษาโรคบางอย่างแล้วไปทำลายหรือรบกวนต่อมใต้สมอง

ทำให้ต่อมสร้างหรือผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตไม่ได้ ถามว่าโรคนี้พบบ่อยหรือไม่ ก็ไม่ถึงกับบ่อยมาก แต่พบได้พอสมควร

ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีการสำรวจที่ชัดเจน ถ้าไปดูอุบัติการณ์ในต่างประเทศอาจพบ 1 : 3 หมื่น ถึง 1 : 4 หมื่น

ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ไปสำรวจ หรือสำรวจด้วยวิธีใด และใช้กฎเกณฑ์อย่างไร

อาการ อาการเเสดงของภาวะขาดโกรทฮอร์โมนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้เอง ได้แก่

1.อาการแสดงในวัยเเรกเกิด – วัยเด็กเล็ก ของภาวะขาดโกรทฮอร์โมน

 ตัวเตี้ยผิดปกติเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

 ตัวเล็ก และมักมีภาวะน้ำตาลต่ำอยู่บ่อยๆ

 ปากแหว่ง ตั้งแต่แรกเกิด

 เพดานโหว่ตั้งแต่แรกเกิด

 ท่อนกลางของลำตัวมีความผิดปกติ

 ทารกเพศชายมีความผิดปกติของอวัยวะเพศ

2.อาการแสดงของ ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน ตอนโต

 การเจริญเติบโตช้าเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนๆวัยเดียวกัน

 ตัวเตี้ยแต่มีพุงจ้ำม่ำ มีไขมันไปพอกตามที่ต่างๆของร่างกาย

 เสียงเล็กแหลม

 ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย

 โครงหน้าเหมือนตุ๊กตา ใบหน้าจะหวำลึงลงไป หน้าฝากจะนูนเล็กน้อย



การวินิจฉัยภาวะ ขาดโกรทฮอร์โมน

การวินิจภาวะภาวะขาดโกรทฮอร์โมน ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง

เพราะการรักษามีวิธีเดียวคือการฉีดยา คือ การให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งจะต้องฉีดยาทุกวัน สัปดาห์ละประมาณ 6-7 วัน

วิธีการตรวจได้แก่

1. การตรวจเอกซเรย์ดูอายุกระดูก เด็กกลุ่มนี้จะมีอายุกระดูกช้ากว่าความเป็นจริง เช่น เด็กอายุ 7 ขวบ

อายุกระดูกอาจจะอ่านได้ 3-4 ขวบ ซึ่งการดูกระดูกได้จากการเอกซเรย์มือซ้าย

แล้วไปเปรียบเทียบกับภาพมาตรฐานว่า อายุกระดูกเด็กเป็นค่าเท่าไหร่

2. ทำฮอร์โมนเทส หรือการตรวจเช้คระดับฮอร์โมน เพื่อดูว่าเด็กฮอร์โมนต่ำหรือสูง

เนื่องจากระดับฮอร์โมนมีการหลั่งขึ้นลงเป็นรูปคลื่นตลอดเวลา แพทย์ต้องทำการทดสอบ 2 ครั้งเพื่อเปรียบเทียบกัน

3. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อจะดูลักษณะของต่อมใต้สมองว่าต่อมเล็ก หรือมีความผิดปกติ มีก้อน

มีซีสต์อะไรไปกดเบียดต่อมหรือไม่อย่างที่บอกต่อมใต้สมองไม่ได้สร้างฮอร์โมนเจริญเติบโตตัวเดียว

แต่จะสร้างฮอร์โมนตัวอื่นร่วมด้วย เช่น  ฮอร์โมนที่มาควบคุมต่อมไทรอยด์ ฮอร์โมนในการควบคุมปัสสาวะ

4. สอบถามประวัติตัวเตี้ยร่วมกับปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ปัสสาวะรดที่นอน หรือปัสสาวะเยอะ

5.  ตรวจการมองเห็น เพราะ ส่วนมากพบว่าเด็กกลุ่มนี้มักมีก้อนที่ไปเบียดดกเส้นจอประสาทตา

ทำให้เกิดการมองเห็นผิดปกติ

6. ตรวจหาความผิดปกติอย่างอื่น เช่นก้อนในสมอง พยาธิในสมอง หากมี จะพบว่าผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดศีรษะบ่อยๆ



การรักษาภาวะ ขาดโกรทฮอร์โมน

ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน มี วิธีเดียวในการรักษาคือ การให้ฮอร์โมนทดแทนด้วยวิธรการฉีด และต้องฉีดยาทุกวัน

พ่อแม่อาจฉีดให้ หรือเด็กโตอาจฉีดด้วยตัวเอง โดยใช้เข็มเล็ก ๆ ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหน้าขา แต่ยามีราคาค่อนข้างแพง

การรักษาเด็กแต่ละรายต้องใช้เงินหลายหมื่นบาทต่อเดือน เมื่อฉีดฮอร์โมนไปแล้ว การติดตามการรักษาก็สำคัญ

เพราะต้องดูว่าเด็กเจริญเติบโตขึ้นมาหรือไม่ ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติหรือไม่ การเจริญเติบโตของกระดูกเป็นอย่างไร

การรักษาเด็กกลุ่มนี้จะได้ผลดีที่สุดต้องก่อนเด็กเข้าวัยรุ่น ถ้าเข้าสู่วัยรุ่นไปแล้วกระดูกอายุมากขึ้นการรักษามักไม่ได้ผล

การรักษาไปจนกว่าได้ความสูงตามที่ควรจะเป็น หลังจากนั้นเมื่อเด็กหยุดโตจะนำเด็กมาตรวจเพิ่มเติมอีกครั้งว่า

เด็กคนนี้ยังขาดฮอร์โมนเมื่อเป็นผู้ใหญ่หรือไม่ ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วยังขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตก็อาจจำเป็นต้องให้ฮอร์โมน

แต่ระดับฮอร์โมนที่ใช้ในการรักษาผู้ใหญ่มีปริมาณค่อนข้างน้อยไม่เยอะเหมือนในวัยเด็ก

เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ควรไปพบแพทย์หากลูกมีอาการดังนี้

1. ถ้ารู้สึกว่าลูกโตไม่เท่าเพื่อน ๆ หรือพี่น้องคนอื่น ๆ โดยเฉพาะพี่น้องท้องเดียวกัน คนพี่ดูตัวเล็กกว่าคนน้อง

2. วัดความสูงเด็กแล้วความสูงไม่เพิ่มขึ้น โดยมีตัวเลขคร่าว ๆ ว่า ถ้าเด็กอายุ 4-10 ขวบ ปีหนึ่งโตไม่ถึง 5 เซนติเมตร

ถือว่าค่อนข้างตัวเล็กกว่าที่ควรจะเป็น

3. ถ้าพ่อแม่เห็นกราฟการเจริญเติบโตของลูก ซึ่งมักจะมีอยู่ในสมุดคู่มือตรวจสุขภาพ

พบว่าความสูงของลูกเบี่ยงจากเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น

4. เด็กตัวเตี้ยร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะบ่อย ๆ  มีปัญหาทางสายตา ปวดศีรษะบ่อย ๆ คลื่นไส้อาเจียน

ควรมาปรึกษาแพทย์

คุณพ่อคุณแม่ ควรใส่ใจในทุกพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่แบเบาะ

เพราะโรคบางโรคต้องได้รับการตรวจรักษาให้เร็วที่สุดถึงจะได้ผล  อย่าเก็บความสงสัยไว้คนเดียว

หากพบความผิดปกติถึงจะเพียงแต่เล็กๆน้อยๆ ควรปรึกษาเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่วันนี้นะคะ

เพื่อให้ลูกมีสุขภาพดีและการเจริญเติบโตสมวัยค่ะ


https://www.facebook.com/KidsandTall/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรรู้จัก "ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ" 4

ยาล้างไต ล้างทำไม ล้างได้จริงหรือ ต้องอ่านครับ